วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)


โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคสันนิบาต หรือโรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญ คือ อาการสั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง (Bradykinesia) ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง (Rigidity) และการทรงตัวขาดความสมดุล (Postural instability)
แพทย์ชาวอังกฤษชื่อ James Parkinson เป็นคนแรกที่ได้อธิบายลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในปี พ.ศ. 2360
สาเหตุของการเกิดพาร์กินสันในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบชัดเจน มีส่วนน้อยที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โรคนี้ยังไม่มีวิธีสำหรับป้องกัน และมียารักษาอาการต่างๆ แต่ยังไม่มียาที่จะรักษาให้โรคหายขาดได้
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มของโรคที่มีการเสื่อมของสมอง (Neuro dengenerative disorder) มักพบในผู้สูงอายุ โดยในคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปพบเป็นโรคนี้ถึง 1% พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า
อนึ่ง เนื่องจากโรคนี้พบได้บ่อยและเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิต จึงได้มีการจัดตั้งวันโรคพาร์กินสันขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 11 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของแพทย์ James Parkinson และมีการใช้ดอกทิวลิปสีแดงป็นสัญลักษณ์

พาร์กินสันโรคพาร์กินสันมีสาเหตุจากอะไร?
-ประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทราบตำแหน่งบนโครโมโซม (Chromosome) ชัดเจน และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะปรากฏอาการของโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 45 ปี ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้มีสาเหตุจากพันธุกรรมเป็นหลัก ที่จะปรากฏอาการเมื่ออายุมากกว่า 60 ปีไปแล้ว
สำหรับสาเหตุการเกิดโรคในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เหลือ ไม่ทราบชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าน่า จะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลร่วมกัน โดยพบว่ามีปัจจัยบางอย่างช่วยลดโอกาสการเกิดโรคพาร์กินสัน เช่น การดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การใช้ยาลดการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAID) และการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
ส่วนปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น เคยมีอุบัติเหตุทางสมอง การสัมผัสกับยาฆ่าแมลง การดื่มน้ำบ่อ การอาศัยอยู่ในเขตทุรกันดาร มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย (แต่ไม่ได้มีความผิดทางสารพันธุกรรมที่ชัดเจนเหมือนผู้ป่วยกลุ่มข้างต้น)
มีการทดลองพบว่า หากให้สัตว์ได้รับสารเคมีที่ชื่อ MPTP (1-methyl-4-phenyl-1,2,3,6-tetrahydropyridine ซึ่งเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นยาเสพติด เป็นสารเคมีที่มีพิษต่อเซลล์ประสาท) สารเคมีนี้จะเข้าไปสู่เซลล์ประสาทในสมองตรงส่วนที่เรียกว่า Substantia nigra (สมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว) และไปออกฤทธิ์ขัดขวางกระบวนการหายใจของเซลล์สมองส่วนนั้น ทำให้เซลล์ตาย และทำให้สัตว์เหล่านั้นมีอาการพาร์กินสันเกิดขึ้น จึงมีข้อสันนิษฐานว่า ผู้ป่วยโรคนี้บางคนอาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีบางตัวในสิ่งแวดล้อมที่มีโครงสร้างคล้ายกับ MPTP เป็นเวลานานๆนั่นเอง

-พยาธิสภาพที่พบในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เมื่อนำสมองของผู้ป่วยที่เสีย ชีวิตจากโรคพาร์กินสันมาตรวจดู จะพบลักษณะ 2 อย่างคือ
1.เซลล์ประสาทสมองในตำแหน่งที่เรียกว่า Substantia nigra มีการตายและลดจำนวนลง ทำให้สารสื่อประสาทชื่อว่า Dopamine ซึ่งสร้างมาจากเซลล์ประสาทเหล่านี้มีปริมาณลดลง และเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ โดยพบว่าเซลล์ประสาทจะต้องตายไปประมาณ 60-80% จึงจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการขึ้นมา การที่เซลล์ประสาทในตำแหน่งดัง กล่าวมีการตายไปนั้น ถือเป็นลักษณะเฉพาะของโรคพาร์กินสัน
สำหรับปัจจัยที่เซลล์ประสาทเกิดการตายและทำให้เกิดอาการนั้น มีหลายปัจ จัยเกี่ยวข้อง เช่น การสะสมตัวของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Synuclein หรือโปรตีนชนิดอื่นๆที่ผิดปกติ การสะสมของสารอนุมูลอิสระ หรือมีกระบวนการทางเคมีในเซลล์ที่ผิดปกติไป (ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติทางพันธุกรรม) เป็นต้น
2.พบโปรตีนที่ตกตะกอนจนเป็นก้อนกลมๆอยู่ในเซลล์ประสาท เรียกว่า Lewy bodies ซึ่งประกอบขึ้นจากโปรตีนที่เรียกว่า Synuclein โดยโปรตีนนี้จะถูกสะสมผิดปกติจนใหญ่ขึ้นและกลายเป็นก้อนกลมๆขึ้นมา ซึ่งจะพบได้ในหลายๆตำแหน่งของสมองของผู้ป่วยโรคนี้ แต่การพบ Lewy bodies นี้ ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถพบได้ในโรคทางสมองอื่นๆด้วย


อาหารเสริมสำหรับผู้ที่มีภาวะโรคพาร์กินสัน Herbraga 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น