-สูงอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
-ผู้หญิงเพราะมีการหมดประจำเดือน (หมดฮอร์โมนเพศ)
-ขาดอาหารดังกล่าวแล้ว
-ขาดการออกกำลังกาย
-สูบบุหรี่เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย
-การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุให้ขาดอาหาร
-มีโรคเรื้อรังต่างๆที่ส่งผลถึงสุขภาพซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วยเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
-มีพันธุกรรมที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้
โรคกระดูกพรุนมีอาการอย่างไร?
-โดยทั่วไป โรคกระดูกพรุนไม่ก่ออาการยกเว้นเป็นปัจจัยเสี่ยงให้กระดูกหักได้ง่าย
-ซึ่งถ้าเกิดในวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่ายที่ปลายกระดูกแขน/กระดูกข้อมือ (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง กระดูกข้อมือหักในผู้สูงอายุ) และเกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลังและ/หรือกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง
-ส่วนกระดูกพรุนจากสูงอายุ มักเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก
แพทย์วินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร?
-แพทย์วินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้จากประวัติอาการ ประวัติเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติการออกกำ ลังกาย อายุ การตรวจร่างกาย และการตรวจมวลกระดูก/การตรวจความหนาแน่นกระดูกด้วยเครื่อง ตรวจมวลกระดูกซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์พลังงานต่ำกว่าเอกซเรย์ในการตรวจโรคทั่วไป
ผลข้างเคียงจากโรคกระดูกพรุนมีอะไรบ้าง?
-ผลข้างเคียงสำคัญของโรคกระดูกพรุนคือ กระดูกหักง่ายและอาการปวดหลังเรื้อรัง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น