(Disease Modifiying Antirheumatic Drugs หรือ DMARDs) รวมไปถึงการักษาด้วยยาอื่น ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและระยะเวลาตั้งแต่เกิดโรค เช่น ยาลดการอักเสบ (NSAIDs) ยากลุ่มสเตียรอยด์ และยากลุ่มสารชีวภาพ
โดยปกติแล้ว การรักษาโรครูมาตอยด์จะทำการรักษาตรวจติดตามและรักษาอย่างต่อเนื่อง แพทย์จะติดตามและควบคุมอาการอย่างใกล้ชิด แพทย์ที่รักษาโรคไขข้อจะประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและการรักษา โดยจะทำในทุก ๆ 2-3 เดือนในช่วงแรก หรือทุก ๆ 6-12 เดือนในช่วงที่อาการสงบลงแล้ว
-การบำบัดโรค แพทย์อาจส่งผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดโรคหรือนักกายภาพที่ช่วยสอนให้ผู้ป่วยบริหารร่างกายเพื่อให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่น ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้นและหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดที่ข้อได้
-การผ่าตัด หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลในการป้องกันและชะลอการถูกทำลายของข้อ แพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาข้อที่มีการเสื่อมหรือถูกทำลาย ซึ่งการผ่าตัดอาจช่วยทำให้ข้อต่อสามารถใช้การได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยแก้ไขส่วนที่ผิดรูปให้กลับมาปกติ ซึ่งอาจใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวหรือรวมไปถึงวิธีอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ (Synovectomy) การเย็บซ่อมเส้นเอ้นรอบข้อต่อ (Tendon Repair) การผ่าตัดรวมข้อ (Joint Fusion) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Total Joint Replacement)
วิธีการรักษา รวมไปถึงทางเลือกเสริมหรือทางเลือกเฉพาะทางอื่น ๆ ที่อาจมีผลช่วยรักษาโรครูมาตอยด์ เช่น การรับประทานน้ำมันปลา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือฝึกไท่เก๊ก ซึ่งการบริโภควิตามินเสริมหรือออกกำลังกายใด ๆ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เนื่องจากยังไม่มีผลการรับรองว่าทางเลือกเสริมเหล่านี้สามารถช่วยรักษาได้อย่างเห็นผลเพียงใด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น