-เพศ เพศหญิงมีแนวโน้มที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์มากกว่าเพศชาย
-อายุ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่ส่วนมากมักจะเกิดระหว่างอายุ 40-60 ปี
-ประวัติคนในครอบครัว หากมีคนในครอบครัวเคยเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นมากขึ้น
-การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยเฉพาะหากมีความบกพร่องทางพันธุกรรมซึ่งมีโอกาสในการพัฒนาเป็นโรครูมาตอยด์ การสูบบุหรี่ยังมีผลที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มความรุนแรงของโรคมากขึ้นอีกด้วย
-ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การได้รับสารบางอย่าง เช่น ใยหินและซิลิกา อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้
-ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในการพัฒนาเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเมื่ออายุ 55 ปี หรือน้อยกว่า
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากในเบื้องต้น เพราะอาการที่แสดงเป็นอาการที่จะพบได้ในหลากหลายโรค และการตรวจจากห้องปฏิบัติการใด ๆ เพียงอย่างเดียว ยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจร่างกายโดยตรวจดูอาการบวม รอยแดง และความร้อน นอกจากนั้นแพทย์ อาจตรวจความไวของเส้นประสาทและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
-ตรวจเลือด ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ มักมีการประเมินผลจากค่าการอักเสบ (Erythrocyte Sedimentation Rateinflamation: ESR) หรือหาค่าโปรตีนในร่างกายที่เป็นตัวบ่งบอกว่ามีการอักเสบขึ้นในร่างกาย (C-reactive protein: CRP)
-เอกซเรย์ แพทย์อาจแนะนำให้เอกซเรย์เพื่อติดตามการดำเนินของโรค นอกจากนั้น การตรวจจากเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า MRI และการทำอัลตร้าซาวด์ ก็จะช่วยให้แพทย์ทราบถึงความรุนแรงของโรคได้ โดยจะทำเฉพาะในรายที่มีความจำเป็นเท่านั้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น