แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยที่แสดงว่า ระดับสูงของกรยูริคในเลือดมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเกือบ 20% ที่จะวิวัฒนาเป็นโรคเบาหวาน และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นกว่า 40% ที่จะวิวัฒนาเป็นโรคไต ในการวิจัยครั้งใหม่นี้ ทีมนักวิจัยได้ศึกษาทะเบียนประวัติของผู้ป่วยโรคเก๊าต์จำนวน 2,000 ราย ในฐานข้อมูลขององค์การทหารผ่านศึกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคไต เมื่อแรกเริ่มวิจัย
นายแพทย์ Eswar Krishnan ผู้ช่วยศาสตราจารย์หน่วยรูมาติกวิทยา แห่งมหาวิทยาลัย Stanford ได้นำเสนอผลจากการศึกษาวิจัยดังกล่าว ณ การประชุมวิชาการประจำปีของวิทยาลัยรูมาติกอเมริกัน (American College of Rheumatology) โดยนายแพทย์ผู้นี้เป็นที่ปรึกษาของ บริษัท Takeda Pharmaceuticals International ผู้ผลิตยาโรคเก๊าต์ และให้การสนับสนุนทางการเงินในการวิจัยครั้งนี้
ในช่วงระยะเวลา 3 ปี เขาพบว่า 9% ของชายที่ป่วยเป็นโรคเก๊าต์ ซึ่งไม่ได้ควบคุมระกรดยูริค ได้วิวัฒนาเป็นโรคเบาหวาน เปรียบเทียบกับ 6% ของผู้ป่วยที่ควบคุมระดับกรดยูริค หลังจากพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ สำหรับโรคเบาหวาน ผลวิจัยนี้ตรงกับความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานที่สูงขึ้น 19% ในผู้ป่วยที่มิได้ควบคุมระดับกรดยูริค กรดยูริคในเลือดที่มีระดับสูงกว่า 7 ถือว่ามิได้มีการควบคุม
นายแพทย์ Eric Matteson กล่าวว่า ความเสี่ยงของแต่ละบุคคลอาจมี [ผลกระทบ] ไม่มาก แต่ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health) ประมาณการว่า ผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 6 ล้านคนเคยป่วยเป็นโรคเก๊าต์ ณ ขณะใดขณะหนึ่งในช่วงชีวิต และส่วนใหญ่มิได้ควบคุมระดับกรดยูริค จึงพอจะอนุมาน ได้ว่า ชาวอเมริกันหลายหมื่นคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน และโรคไต
ทีมนักวิจัยยังได้ศึกษาครั้งที่สอง โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน ที่แสดงว่า ในช่วงเวลา 3 ปี ชายผู้ป่วยเป็นโรคเก๊าต์ และไม่ได้ควบคุมระดับกรดยูริค มีความสูงขึ้น 40% ที่จะเป็น โรคไตเมื่อเปรียบเทียบกับชายที่ควบคุมระดับกรดยูริค อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ มิได้พิสูจน์ว่า ระดับกรดยูริคที่ไม่ได้ควบคุม จะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ แต่แสดงความสัมพันธ์ถึงปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
นายแพทย์ Eric Matteson กล่าวว่า “[ที่ผ่านมา] โรคเก๊าต์มักได้รับการบำบัดรักษาไม่เพียงพอ แต่ปัจจุบันเราเริ่มพบว่า แม้จะไม่ได้เป็นโรคเก๊าต์ กรดยูริคที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับอัตราที่สูงขึ้นของอาการหัวใจล้ม (Heart attack) กลุ่มอาการจากการสันดาปพลังงานของร่างกายผิดปกติ (Metabolic syndrome) โรคเบาหวาน (Diabetes) และแม้เต่ความตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease)
อย่างไรก็ตาม เขาแนะนำให้ควบคุมระดับกรดยูริคด้วยการควบคุมอาหาร หรือกินยา และสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม ในขณะที่โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงในทุกภาวะดังกล่าว
แม้ได้มีการนำเสนอผลการค้นพบเหล่านี้ ในการประชุมทางการแพทย์ดังกล่าวข้างต้น แต่ควรตระหนักว่า การวิจัยนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น เพราะยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ ตรวจสอบโดยเพื่อนร่วมวิชาชีพ (Peer review) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญภายนอกจะต้องพินิจพิเคราะห์ข้อมูลให้ละเอียดลออก่อนจะได้ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ต่อไป
ขอบคุณ : http://haamor.com
Herbraga
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น