ส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม และมีการขขับเอาฟอสฟอรัสส่วนเกินออกมา
ทางปัสสาวะ และอุจจาระในปริมาณน้อยมาก ซึ่งจะมีไตทำหน้าที่ในการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสในเลือดนั่นเอง
นอกจากนี้ฟอสฟอรัสก็จะถูกดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อมีแคลเซียม วิตามินดีและพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนเป็นตัวช่วย แต่ในขณะเดียวกันก็จะถูกขัดขวางการดูดซึมได้ เมื่อร่างกายมีอลูมิเนียม เหล็กและแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปเช่นกัน เพราะแร่ธาตุเหล่านี้จะรวมเข้ากับฟอสฟอรัสจนเกิดเป็นฟอสเฟตที่ไม่ละลายและทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปได้นั่นเอง
แหล่งที่พบฟอสฟอรัส
-สำหรับแหล่งที่พบฟอสฟอรัส ส่วนใหญ่จะพบได้มากในอาหารที่มีโปรตีนสูง จำพวกเนื้อ เป็ด ไข่ ไก่ และปลา ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็จะมีปริมาณของฟอสฟอรัสที่สูงมากเช่นกัน
ผลจากการขาดฟอสฟอรัส
-เมื่อร่างกายได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณที่น้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะการขาดวิตามินดีและแคลเซียมร่วมด้วย จะส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลง โดยเฉพาะในวัยเด็ก และทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการขาดฟอสฟอรัสจะพบขาดร่วมกับแร่ธาตุอื่นๆ เสมอ ส่วนการขาดฟอสฟอรัสเพียงอย่างเดียวมักจะไม่ค่อยพบมากนัก นอกจากในคนที่มีความผิดปกติบางอย่าง หรือคนที่กินยาลดกรดที่ประกอบไปด้วย สารอลูมินัมไฮดรอกไซค์ (Aluminum Hydroxide) เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เพราะจะไปลดการดูดซึมฟอสฟอรัสของร่างกาย จนทำให้ขาดฟอสฟอรัสได้ในที่สุด ซึ่งก็จะทำให้มีอาการหายใจผิดปกติ เหนื่อยล้าง่ายและในบางคนก็อาจมีน้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย การเป็นพิษของฟอสฟอรัส สำหรับการเป็นพิษจากการได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป ยังไม่มีรายงานในส่วนนี้
ขอบคุณ : http://amprohealth.com/nutrition/phosphorus/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น