วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ความดันโลหิตตกเมื่อลุกยืน


ภาวะ/โรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน หรือความดันโลหิตตกเมื่อลุกยืน หรือความดันตกในท่ายืน (Orthostatic hypotension หรือ Postural hypotension)
คือโรค/ภาวะเมื่อเปลี่ยนท่าจากนอนหรือจากนั่งเป็นลุกยืน จะส่งผลให้มีความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงต่ำลงหรือตกลงทันทีอย่างรวดเร็วภายในประมาณ 3 นาที โดยความดันโลหิตตัวบน (Systolic) จะต่ำ/ตกลงอย่างน้อย 20 มิลลิเมตร (มม.) ปรอท (mm Hg) และ/หรือความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) ต่ำ/ตกลงอย่างน้อย 10 มม.ปรอท แต่โดยทั่วไปมักมีอาการเสมอเมื่อความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 60 มม.ปรอท
ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนเป็นภาวะ/โรคพบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะเมื่ออายุมาก กว่า 65 ปี (ประมาณ 20 - 30% ของผู้สูงอายุทั้งหมด) และพบมีอาการประมาณ 5 - 10% ในวัยกลางคน ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกัน

โรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนเกิดได้อย่างไร?
-โดยทั่วไปเมื่อเราเปลี่ยนท่าจากนอนหรือจากนั่งเป็นลุกยืนทันที จะส่งผลให้เลือด/โลหิตที่มีการไหลเวียนโลหิตประมาณ 500 - 1,000 มิลลิลิตร (มล.) ตกลงไปคั่งอยู่บริเวณขาทั้งสองข้างและในบริเวณช่องท้องตามแรงโน้มถ่วง/แรงดึงดูดของโลก จึงส่งผลให้เกิดเลือดไม่พอในการไหลเวียน ซึ่งในภาวะปกติร่างกายจะชดเชยเพื่อให้ความดันโลหิตปกติโดยกระบวนการของประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic nervous system) กล่าวคือ มีการเพิ่มแรงต้านทานในหลอดเลือด มีการเพิ่มการไหลกลับเข้าหัวใจของเลือดดำ และมีการเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ แต่ในคนที่กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยเหตุผลใดก็ตามเช่น ภาวะขาดน้ำ หรือโรคหัวใจ การลุกยืนทันทีจึงส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ/ตกทันที จึงก่อให้เกิดภาวะ/โรคที่เรียกว่า “ความดันโลหิตต่ำ/ตกเมื่อลุกยืน”
ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนที่มีสาเหตุเกิดจากภาวะชั่วคราวที่ไม่ใช่เกิดจากโรค เรียกภา วะนี้ว่า “ภาวะ/โรคความดันโลหิตต่ำ/ความดันโลหิตตกเมื่อลุกยืนเฉียบพลัน (Acute orthosta tic hypotension)” ซึ่งมักมีความดันโลหิตต่ำได้มากจึงมักก่ออาการเป็นลมได้ แต่เมื่อมีสาเหตุมาจากโรค อาการมักเป็นๆหายๆ ความดันโลหิตมักต่ำลงไม่มากจึงไม่ค่อยเกิดการเป็นลม เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะ/โรคความดันต่ำ/ตกเมื่อลุกยืนเรื้อรัง (Chronic orthostatic hypotension)”

อะไรคือปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุของความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน?
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ/โรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนได้แก่
-ผู้สูงอายุ: จากการมีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัวต่างๆและการเสื่อมถอยของเซลล์ทุกชนิดในร่างกายรวมทั้งของหัวใจ หลอดเลือด และประสาทอัตโนมัติ รวมทั้งยังไม่ค่อยได้ดื่มน้ำ ร่างกายจึงมักอยู่ในภาวะขาดน้ำเสมอ
-ภาวะขาดน้ำ: จึงส่งผลให้ปริมาตรของน้ำในหลอดเลือดลดลง ส่งผลให้ปริมาตรของเลือดในร่างกาย/ในหลอดเลือดลดลง เมื่อเกิดเลือดคั่งในขาหรือในช่องท้องจึงเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนได้ง่ายเช่น จากดื่มน้ำน้อย จากอากาศร้อน เหงื่อออกมากจากเล่นกีฬา หรือทำงานกลางแจ้ง หรือการสูญเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง

ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนมีอาการอย่างไร?
-อาการจากความดันโลหิตต่ำ/ตกเมื่อลุกยืนได้แก่ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อลุกยืนทันทีจากท่านั่งหรือนอนเป็นท่ายืน ซึ่งมักพบเกิดบ่อยกว่าในช่วงตื่นนอนเช้า หลังการออกกำลังกาย หรือหลังการเบ่งอุจจาระ โดยอาการที่พบบ่อยได้แก่
-มึนงง วิงเวียน,เซ,เหนื่อย มือสั่น,หูไม่ได้ยิน หรือได้ยินน้อยลง หูอื้อ,ตาพร่า,คลื่นไส้,อาจปวดศีรษะ ปวดต้นคอ หรือปวดไหล่,ขาชา,เมื่อความดันโลหิตต่ำมากอาจเป็นลมหมดสติ

โรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร
-การพยากรณ์โรค/ความรุนแรงของภาวะ/โรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนขึ้นกับสาเหตุ แต่โดยทั่วไปไม่รุนแรง รักษาควบคุมได้
ส่วนผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะนี้ที่พบได้บ่อยเมื่อไม่ระมัดระวังคือ การล้มที่อาจทำให้เกิดกระดูกหักได้ และการเป็นลมหมดสติอาจส่งผลให้อวัยวะต่างๆขาดเลือดโดย เฉพาะสมองถ้ารักษาไม่ทันอาจส่งผลให้เกิดอัมพาตถาวรได้

ป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนได้อย่างไร?
-การป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนจะเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการดูแลตนเอง อ่านเพิ่มเติมใน 2 หัวข้อนั้นทั้งนี้ที่สำคัญคือ
-ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้วเมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม และตามปริมาณน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปเช่น ในภาวะเหงื่อออกมาก เป็นต้น
-ป้องกันรักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุให้ได้ดี
-หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ
-เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
-ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
-ระมัดระวังการใช้ยาต่างๆและต้องรู้ผลข้างเคียงของยาที่ใช้อยู่เสมอ





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น