วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เห็ดหลินจือ ส่วนผสมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฮอร์บากร้า


แนะนำคุณสมบัติของเห็ดหลินจือ หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฮอร์บากร้า
- เราคงได้ทราบถึงสรรพคุณของส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฮอร์บากร้า
อย่าง ถังเช่า และกระชายดำกันแล้ว มาในสัปดาห์นี้เราจะมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งส่วนผสมอย่างเห็ดหลินจือ เราคงเคยได้ยินเรื่องเห็ดหลินจือกันมา ไม่มากก็น้อยกันบ้างแล้ว วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเห็ดหลินจือกันในส่วนที่ลึกขึ้น เพื่อที่จะทราบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฮอร์บากร้า นั้น ได้คัดสรรเอาส่วนประกอบดีๆ ที่มีคุณค่ามาสกัดให้เรารับประทานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

   เห็ดหลินจือ หรือที่รู้จักกันดีในประเทศไทย "เห็ดหมื่นปี เห็ดจวักงู" ชื่อภาษาอังกฤษ "lacquered mushroom" ชื่อญี่ปุ่น "mannantake" เห็ดหลินจือ จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีนที่มีการใช้มานานกว่า 4000 ปี เป็นยาอายุวัฒนะ และรักษาโรคต่างๆในเภสัชตำรับของสาธารณะรัฐประชาชนจีนระบุสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคหัวใจ และช่วยให้นอนหลับ

    มีรายงานการศึกษาทางคลินิกพบว่าเห็ดหลินจือ มีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งปอด ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และผู้ป่วยมะเร็งขั้นลุกลาม มีฤทธิ์ต้านปวดและมีความปลอดภัยในการใช้ในผู้ป่วยโรค rheumatoid arthritis รักษาโรค neurasthenia โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง อาการปวดหลังจากการติดเชื้องูสวัด

    นอกจากนี้ยังพบว่าเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านเนื้องอกและมะเร็ง ฤทธิ์ ป้องกันเส้นประสาทเสื่อม ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ฤทธิ์ต้านการอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสารสำคัญ คือ สารกลุ่ม polysaccharides, สารกลุ่ม triterpenoida, สารกลุ่ม sterols สารกลุ่ม fatty acids, สารกลุ่มโปรตีน เป็นต้น ซึ่งสารสำคัญดังกล่าวจะพบได้ในส่วนสปอร์มากกว่าส่วนดอก และสปอร์ที่กระเทาะผนังหุ้มมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งได้ดีกว่าสปอร์ที่ไม่กระเทาะผนังหุ้ม และส่วนดอก มีการศึกษาเกี่ยวกับพิษวิทยาของเห็ดรินเจอทั้งพิษแบบเฉียบพลัน และพิษแบบเรื้อรัง พบว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก และมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ปี 2551 ถึง 2554 สถาบันการแพทย์แผนไทย-จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขได้เป็นองหลักในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงายในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในการวิจัยและพัฒนาเห็ดหลินจือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงการใช้ประโยชน์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมโครงการเป็นคณะทำงานการวิจัยเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือในระดับพรีคลินิก และคณะทำงานการพัฒนาผลงานวิจัยเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจิอ สู่การใช้ประโยชน์

   คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ศึกษาคุณภาพและปริมาณสารสำคัญของดอกเห็ดและสปร์อเห็ดหลินจือ ที่ปลูกในประเทศไทย โดยตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญกลุ่ม terpenoids และสารกลุ่ม polysaccharides การศึกษานี้จะเป็นข้อมูลบ่งชี้ พันธุ์เห็ดหลินจือ ที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย อายุในการเก็บเกี่ยวสปอร์และดอกเห็ด ชนิดของท่อนไม้ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเห็ดและได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสปอร์เห็ดหลินจือ ก่อนนำไปใช้ทางยาจะต้องกระเทาะผนังหุ้ม ผลการศึกษาคุณภาพและปริมาณสารสำคัญของดอกเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือพันธุ์ MG1,MG2,MG5 พบว่า ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 110 วัน และพันธุ์เห็ดที่มีปริมาณสารกลุ่ม polysaccharides สูงคือ พันธุ์MG2 โดยพบในสปอร์ที่กระเทาะผนังหุ้ม มากกว่าดอกเห็ด ส่วนพันธุ์ที่มีปริมาณสารกลุ่ม triterpenoids สูง คือพันธุ์ MG5 โดยพบในก้านดอก มากที่สุด รองลงมาคือดอกเห็ดและสปอร์ ตามลำดับ และพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเห็ด คือ ไม้ลำใย และไม้สะเดา และงานวิจัยนี้ได้พิสูจน์ว่าสปอร์ที่กระเทาะผนังหุ้มมีสารสำคัญและ ฤทธิ์ทางยาดีกว่าสปอร์ที่ไม่กระเทาะผนังหุ้ม  ทั้งนี้เพราะว่าผนังหุ้มสปอร์มีผนังหนา2ชั้น ผนังชั้นนอกเรียบ ผนังชั้นในยื่นคล้ายหนามไปชนผนังชั้นนอก ซึ่งผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตัวทำละลายแอลกอฮอร์หรือ dichloromethane ไม่สามารถสกัดสารสำคัญกลุ่ม triterpenoids ออกจากสปอร์เห็ดหลินจือ ที่ไม่กระเทาะผนังหุ้มแต่การต้มสปอร์ที่ไม่กระทบผนังหุ้มด้วยน้ำจะสกัดสารกลุ่ม polysaccharides ได้บ้าง แต่ปริมาณน้อยกว่าสปอที่กระเทาะผนังหุ้ม นอกจากนี้ในสภาวะที่เป็นกรด หรือเป็นด่าง เลียนแบบสภาวะของกระเพาะและลำไส้ตามลำดับ ก็ไม่สามารถทำลายผนังหุ้มของสปอร์ได้ ซึ่งพิสูจน์ได้จากการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อีเล็คตรอน และ TLC chromatogram ซึ่งจะสอดคล้องกับกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล เมื่อผู้ป่วยคนหนึ่งที่รับประทานผวเห็ดหลินจือ แล้วมีอาการท้องเสีย เมื่อตรวจอุจจาระพบว่ามีสปอร์เห็ดหลินจือ ที่มีขนาดและรูปร่างคล้ายกับไข่พยาธิ ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่าอาการท้องเสียเกิดจากพยาธิ หลังจากหยุดการรับประทานผงเห็ดหลินจือ อาการต่างๆก็ดีขึ้น

   กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสปอร์เห็ดหลินจือที่ไม่กระเทาะผนังหุ้ม ร่างกายคนไม่สามารถย่อยผนังหุ้มได้ ทำให้จึงยังคงพบสปอร์ในอุจจาระ ฉะนั้นการรับประทานสปอร์เห็ดหลินจือ จึงต้องทำการกระเทาะผนังหุ้มก่อน เพื่อให้สารสำคัญถูกสกัดออกจากสปอร์และดูดซึมเข้าร่างกายได้ซึ่งจะมีคุณค่าทางยา ตามรายงานการวิจัยทางคลินิกหรือพรีคลินิก

   ประเทศไทยมีการปลูกเห็ดหลินจือในเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โดยจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปดอกเห็ดหั่นเป็นแผ่น น้ำเห็ดหลินจือ เครื่องดื่มชาเห็ดหลินจือ กาแฟเห็ดหลินจือ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งสรรพคุณในการรักษาโรคภัยต่างๆ หรือการศึกษาการเพาะปลูกตามหลักเกณฑ์ที่ดี ในการเพาะปลูก หรือการเก็บสปอร์เห็ดหลินจือ มาใช้ประโยชน์เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เนื่องจากขาดการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ ที่มีองค์ความรู้แต่ไม่มีการบูรณาการในการศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง

   เห็ดหลินจือเป็นยาจีนชั้นสูง ที่ใช้กันมานานกว่า 4000 ปี ได้รับการบันทึกสรรพคุณไว้ในตำรา "เสินหนงเปิ่นฉ่าวจิง" ว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งชีวิต" เพราะมีพลังมหัศจรรย์ในการบำรุงร่างกาย เนื่องจากสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย ขับพิษ ป้องกัน และรักษาโรคที่ดีเลิศกว่าสมุนไพรชนิดอื่น
- สารในกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ มีฤทธิ์เสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบ

- สารในกลุ่มไตรเทอร์พีน ช่วยกำจัดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- สารในกลุ่มนิวคลีโอไทด์ ออกฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บป่วย ป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
- สารประกอบเจอมาเนียม เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย บำรุงประสาท สมอง หัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

   นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยบำรุงสุขภาพ ต้านการอักเสบ ช่วยยับยั้ง และรักษาอาการต่างๆของโรคได้มากมาย ซึ่งพบได้ทั้งในดอกเห็ดและสปอร์ แต่ส่วนใหญ่พบในสปอร์ และสปอร์ที่กระเทาะผนังหุ้มจะมีสารสำคัญ และฤทธิ์ทางยาดีกว่าสปอร์ ที่ไม่กระเทาะผนังหุ้ม โดยในตำรับยาระบุไว้ว่า "เห็ดหลินจือ" นำมาใช้รักษาได้หลายอาการ เช่น
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีรายงานการศึกษาทางคลินิกพบว่า เห็ดหลินจือ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งปอด ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และผู้ป่วยมะเร็งขั้นลุกลาม
- ลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน รวมทั้งโลกที่อยู่ในกลุ่มอาการความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย
- บำรุงระบบประสาท โดยมีการนำไปรักษาโรคประสาท ที่มีอาการอ่อนเพลียอย่างเรื้อรังได้เห็นผล
- บำรุงและรักษาโรคตับต่างๆ ทั้งตับแข็ง ตับอักเสบ ฟื้นฟูสมรรถภาพของตับที่ถูกทำลายจากการรับ
ประทานยาจำนวนมากติดต่อกันเป็นเวลานาน
- เสริมสร้างความจำป้องกันอัลไซเมอร์
- ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง
- ป้องกันการทำงานของหนักของไต
- รักษาอาการปวดหลังจากการติดเชื้องูสวัด
- แก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์
- เพิ่มความแข็งแรงให้ปอด ม้าม
- ลดอาการปวดประจำเดือน

  แม้มีงานวิจัยพบว่า การทานเห็ดหลินจือไม่มีผลข้างเคียง และไม่มีสารตกค้างที่ตับหรือไต แต่ในบางคนอาจมีอาการแพ้เห็ดได้ สังเกตได้จากเมื่อทานเข้าไปแล้วมีอาการปากแห้ง คอแห้ง และอาจมีอาการคัน ผื่นขึ้น เวียนศรีษะ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล หากมีอาการเช่นนี้ไม่ควรทานเห็ดหลินจืออีก

 "เห็ดหลินจือ" เป็นสมุนไพรที่ซ่อนประโยชน์ไว้มากมายจริงๆ สมกับฉายา "ราชาแห่งสมุนไพร" เพราะนอกจากช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยปรับสมดุลย์ ยังมีคุณสมบัติในการบรรเทาสภาวะต่างๆ ให้ลดลงได้อีกด้วย แถมด้วยสรรพคุณเหล่านั้น ยังรวมอยู่ในแคปซูลเล็กๆ อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฮอร์บากร้า ที่เปี่ยมไปด้วยข้อมูลสุขภาพ และผลการวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของเห็ดหลินจือ Herbraga

เฮอร์บากร้า, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ถังเช่า



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น