วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โรคเก๊าท์ อาการของโรคเก๊าท์ วิธีดูแล และอาหารที่ควรกิน


โรคเกาต์ วิธีดูแลและอาหารที่ควรกิน
- หลายคนยังไม่รู้หรืออาจจะรู้แบบผิดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เชื่อว่ารับประทานอาหารประเภทไก่มากๆ แล้วจะเป็นโรคเกาต์
ความคิดแบบนั้นผิดถนัดเพราะจริงๆแล้ว เนื้อไก่หรือสัตว์ปีกจะทำให้เกาต์กำเริบเท่านั้น ไม่ได้ทำให้คนปกติทั่วไปเป็นโรคเกาต์ได้แต่อย่างได ซึ่งโรคนี้เกิดจากการที่มีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงและไปตกเป็นผลึกเรียกว่า ผลึกยูเรท อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆโดยเฉพาะที่ครอบบริเวณใกล้ข้อและไต การที่จะเกิดการตกผลึกยูเรท ตามเนื้อเยื่อต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ ระดับกรดยูริคในเลือด และสภาพของเนื้อเยื่อ เพื่อให้เกิดการตกผลึกเป็นผลิตยูเรท สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงจนเป็นโรคก็คือ
1 อาหารที่รับประทานเช่นเครื่องในสัตว ์เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมถึงผักบางชนิด
2 การสลายตัวของเซลในร่างกายดังนั้นคนที่ชอบรับประทานไก่มากๆ ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อโรคเกาต์อย่างที่เข้าใจกัน

อาการของโรคเก๊าท์
  • ระยะแรกเริ่มที่เป็นโรคเก๊าท์ ก็จะยังไม่ถูกทำลายมาก นานๆไปข้อกระดูกก็จะถูกทำลาย และมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบวดบวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุด อาการบวมมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง ข้อที่ปวดพบได้ในทุกข้อ พบมากตามข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก ในรายที่เป็นมานาน อาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ 
  • นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยมักปวดข้อกระดูกตอนกลางคืน และอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมักจะมีปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริคสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่าตัด และความเครียดเป็นต้น
  • อย่างไรก็ตามหากพบอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ก็ไม่ชัดเจน และถ้าเป็นบริเวณที่ข้อเท้า ระยะสามารถเดินเหินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูง ก็สามารถสันนิษฐานว่าไม่ใช่โรคเก๊า ในทางตรงกันข้ามถ้ามีอาการที่ชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็ว แม้ว่าจะจบยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นโรคเก๊าท์
วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้เป็นโรคเก๊าท์
  • นอนหลับให้เพียงพอ ที่ร่างกายต้องการพักผ่อน หลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าชนิดเฉียบพลันได้ง่าย
  • สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ จะช่วยลดความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่นจากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันได้
  • ควบคุมน้ำหนักการที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปทำให้รักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยาก ซับซ้อน และอาจทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น
  • ดื่มน้ำมากๆ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นได้ง่าย เกิดขึ้นในไต การดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 8 แก้วหรือประมาณ 2 ลิตร จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเนื่องจากมาจากโรคเก๊าท์ที่ได้มา
  • ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด ที่สำคัญคือควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น อย่าหายามารับประทานเองเด็ดขาด
  • อย่าวิตกกังวลไป เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าชนิดเฉียบพลันได้ง่าย
  • ยาออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงาน หาความรื่นเริง และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา พญาให้มากเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อ อาการปวด
  • อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้นจึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่มีความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยรับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินหรือน้อยเกิน ไม่ควรรับประทานอาหารชนิดตามที่แพทย์สั่งห้าม
อาการที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรงดและควรรับประทาน
  • การรักษาโรคเก๊าท์จะต้องควบคุมสารฟิวรีนในอาหารด้วย ในระยะที่มีความรุนแรงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก อาหารทะเลบางชนิด ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ปลาอินทรีย์ หอยเชลล์ ไข่ปลา กะปิ น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ปลากระป๋องซาดีน หรือแม็คโคเรล ยอดผักอ่อนบางชนิด เช่น กระถิน ชะอม สะเดายอดมะพร้าวอ่อน
  • สำหรับอาหารที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทาน ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ผักทั่วไป ผลไม้เกือบทุกชนิด ข้าว ขนมปัง ปลา เนยเหลว เนยแข็ง ปลาน้ำจืดเว้นปลาดุก อาหารเหล่านี้สามารถทานได้ทุกวันเนื่องจากไม่มีสารพิวรีนอยู่เลย ทำให้อาการปวดจากโรคเก๊าท์ไม่กำเริบ


ขอบคุณ : www.thaihealth.or.th


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น