วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

โรคเกาต์มีอาการอย่างไร? ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์?


โรคเกาต์มีอาการอย่างไร?
- โรคเกาต์ มักเกิดอาการกับข้อเพียงข้อเดียว แต่สามารถเกิดได้หลายๆข้อ อาการจะค่อยๆดีขึ้นภายหลังการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่เมื่อควบคุมโรคได้ไม่ดี
โลกจะย้อนกลับมาอีก เป็นๆหายๆ กลายเป็นการอักเสบเรื้อรังของข้อ โดยอาการพบบ่อยของโรคเกาท์ได้แก่
  • ข้อที่เกิดโรคอักเสบบวม แดง ร้อน ปวดมาก และเจ็บมากเมื่อสัมผัสถูกต้อง
  • ข้อที่เป็นโรคเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ เพราะเจ็บซึ่งการอักเสบมักเกิดอย่างรวดเร็วภายใน 1 วันการอักเสบเฉียบพลัน
  • ช่วงมีข้อบวมอาจมีไข้ได้
  • อ่อนเพลีย
  • เมื่อกลายเป็น โรคข้ออักเสบเรื้อรัง ผลึกของกรดยูริคเข้าไปจับรอบๆข้อ และ/หรือตามเนื้อเยื่อต่างๆที่ไม่ใช่ข้อ เกิดเป็นก้อน/ เป็นตุ่ม เช่น ที่ใต้ผิวหนัง และที่ใบหู เรียกว่าปุ่มโรคเกาต์ (Tophi)
แพทย์วินิจฉัยโรคเกาต์ได้อย่างไร
  • แพทย์วินิจฉัยโรคเกาต์ ได้จากประวัติอาการต่างๆ ประวัติการกินอาหาร กินยาบางชนิด และการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคไต ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ประวัติการเป็นโรคเกาต์ในครอบครัว การตรวจร่างกายตรวจเลือดดูค่ากรดยูริค ตรวจสภาพข้อที่เกิดโรคเก๊าท์ด้วย เอกซเรย์ แต่ที่แน่นอน คือ ดูดน้ำจากข้อที่บวม ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ดูผลึกของกรดยูริค
รักษาโรคเกาต์ได้อย่างไร
  • แนวทางการรักษา ได้แก่ ให้ยาลดการอักเสบ ให้ยาลดกรดยูริกในเลือด ทั้งนี้การให้ยาต่างๆซึ่งมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ การจำกัดอาหารที่มีกรดยูริคสูง และให้ยาตาม อาการ
โรคเกาต์ มีผลข้างเคียงไหม
  • ผลข้างเคียงที่อาจพบในโรคเกาต์ คือ กลายเป็นโรคเรื้อรังเมื่อไม่พบแพทย์ต่อเนื่อง หรือการเกิดปุ่มผลึกกรดยูริคในเนื้อเยื่อต่างๆ ส่งผลให้เกิดเสียภาพลักษณ์ หรือเป็นโรคนิ่วในไต จากการสะสมของผลึกกรดยูริคในไต ซึ่งอาจถึงขั้นเป็นสาเหตุไตวายได้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น