แต่ด้วยกระบวนการขัดสีก็ลดปริมาณแมงกานีสจนหมดไปได้เช่นกัน หากร่างกายขาดแมงกานีสขบวนการทางชีวภาพก็ติดขัดซึ่งไม่ส่งผลดีกับตัวเรา เพราะแมงกานีสมีความสัมพันธ์กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หากขาดในปริมาณน้อยอาจทำให้เสียการทรงตัว เดินเซ หากขาดในปริมาณอาจทำให้ชัก หูหนวก หรือตาบอดได้เลยทีเดียว
แมงกานีสซึ่งเป็นสารประกอบในอาหารที่ร่างกายต้องการเป็นคนละตัวกับที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายแม้เพียงสูดดม แมงกานีสจากสารอาหารเมื่อเรารับประทานเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมที่ลำไส้ พบมากที่กระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจ ต่อมพิทูอิตารี (Pituitary Gland) หรือต่อมใต้สมอง แมงกานีสส่วนเกินจะถูกขับออกทางน้ำดีและอุจจาระ
หน้าที่หลักของแมงกานีสต่อร่างกาย
1. เป็นส่วนประกอบในขั้นตอนการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กระดูก และเม็ดเลือดแดง ชื่อไกลโคซามิโนไกลแคน (Glycosaminoglycan)
2. กระตุ้นเอ็นไซม์ที่นำวิตามินบี 1 (Vitamin B1) วิตามินซี (Vitamin C) และไบโอติน (Biotin) มาใช้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท
3. มีความสำคัญในการสร้างสารไทรอกซิน (Thyroxin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์ (Thyroid) ซึ่งส่งผลต่อความกระปรี้กระเปร่า ความเหนื่อยล้า และอาการท้องผูก
4. เป็นเกลือแร่ที่ช่วยในเรื่องการแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดอุบัติเหตุช่วยให้เลือดหยุดไหลได้เป็นปกติหากขาดแมงกานีสอาจพบว่าเลือดหยุดไหลช้า
5. แมงกานีสส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียม สะสมแคลเซียมไว้ในกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทอง
6. ช่วยลดอาการวูบวาบ หงุดหงิดง่ายในสตรีวัยทอง
7. ส่งเสริมฮอร์โมนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ
8. เกี่ยวข้องกับกระบวนการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ไขมัน (Lipid) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (Insulin) ให้คงที่ เพิ่มการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันจึงลดการสะสมไขมันในร่างกาย
9. กระตุ้นตับให้เก็บน้ำตาลไว้ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อนำมาใช้ในเวลาที่ร่างกายขาดแคลน
10. ช่วยเรื่องการทำงานของระบบประสาทให้มีประสิทธิภาพ ไม่ล้าจากชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และช่วยให้ความจำดีขึ้น
อาการขาดแมงกานิส
1. ทำให้มีภาวะเดินเซจากการขาดประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท
2. ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจมาน้อยหรือมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดร่างกายระหว่างมีประจำเดือน
3. ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน อาการวูบวาบ นอนไม่หลับ หงุดหงิดในสตรีวัยทอง
4. เกิดภาวะไขมันสะสมในร่างกายจากการเผาผลาญไขมันได้ไม่เต็มที่
5. ในเด็กอาจมีอาการชัก ตาบอด หรือหูหนวกได้
6. ในผู้ใหญ่อาจมีอาการเวียนศีรษะ หูอื้อ
คำแนะนำเรื่องการรับประทานแมงกานีส
มีคำแนะนำจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาว่า ควรบริโภคแมงกานีส 2-5 มิลลิกรัม ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมกระบวนการต่างๆ ของร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ สำหรับพิษจากการรับประทานแมงกานิสเกินยังไม่พบ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจส่งเสริมให้เกิดโรคพาร์คินสัน (Parkinson’s disease) ได้
สิ่งที่ขัดขวางการดูดซึมแมงกานีส และข้อควรระวัง
1. แมงกานีสออกฤทธิ์ลดการดูดซึมยาลดกรด หรือยาปฏิชีวนะ ทำให้ยาลดประสิทธิภาพ ระหว่างการได้รับยากลุ่มนี้ควรหยุดรับประทานแมงกานีสเสริมอาหาร ให้รับประทานแมงกานีสที่เป็นสารประกอบตามธรรมชาติเท่านั้น
2. ทำให้เกิดอาการข้างเคียงในผู้ป่วยที่รับยาจิตเภท เช่น Haloperidol ทำให้มีอาการประสาทหลอน หลงผิด ควบคุมตัวเองไม่ได้
3. การใช้แมงกานีสในผู้ป่วยโรคตับ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง เพราะอาจทำให้มีอาการเบลอ สับสน อาจทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมในตับมากกว่าปกติ
4. นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากเกินไปทำให้ความต้องการแมงกานีสสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้ธาตุเหล็กที่ร่างกายสะสมไว้ถูกขับออกมา อาจทำให้ซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
อาหารที่มีแมงกานีสประกอบ
แหล่งอาหารที่พบแมงกานีสสูง
อาหารที่พบแมงกานีส ส่วนใหญ่พบในธัญพืช เช่น ถั่วแมคคาแดเมีย พบสูงถึง130 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และบร็อคโคลี 0.21 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม นอกจากนี้ยังพบในผักใบเขียว ส้ม ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต อาโวคาโด เมล็ดทานตะวัน หัวปลี
นอกจากแมงกานีสที่มาในรูปสารประกอบในอาหารจากธรรมชาติ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดเอาแมงกานีสมาใช้ประโยชน์ แต่จะอยู่ในรูปผสมกับแคลเซียมเพื่อช่วยให้แคลเซียมดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน หรือผสมกับซิงค์ และกลุ่มวิตามินบี ที่เน้นในเรื่องการบำรุงระบบประสาทเพื่อให้มีความจำดี ปริมาณการผสมมักอยู่ที่ 1 มิลลิกรัม อย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) หรือถ้านำเข้าควรผ่านการรับรองจากประเทศนั้นๆ (Food and Drug Administration : FDA) อีกทั้งต้องมาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือและติดตามได้หากเกิดอาการข้างเคียงหรืออาการแพ้
ถึงแม้แมงกานีสจะเป็นเกลือแร่ที่ประกอบอยู่ในอาหารหลายชนิดแต่ก็ถูกทำลายได้ง่ายด้วยกระบวนการขัดสี เช่น ข้าวที่ผ่านการขัดสี ขนมปังขาว เพราะฉะนั้นเพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วน เราต้องเลือกบริโภคอาหารให้เป็น รับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีน้อย หรืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพื่อที่เราจะได้ประโยชน์จากเกลือแร่ในสารอาหารได้เต็มที่
ขอบคุณ : http://www.pikool.com/แมงกานีส
Herbraga อาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างแมงกานีสในร่างกาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น