ให้ สมุนไพร Herbraga ดูแลคุณ

จากอาการ ไมเกรน เบาหวาน ความดัน ภูมิแพ้ ปวดเมื่อย ดีขึ้น

สวยใส ไร้สิว ด้วยฟักข้าว

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากฟักข้าว ช่วยฆ่าแบตทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว เผยผิวกระจ่างใส กระชับรูขุมขน

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรครูมาตอยด์ 1 Rheumatoid Arthritis

รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ใช่เพียงที่ข้อ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติและไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีภาวะที่มีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และหลอดเลือด

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

กระตุ้นสมองหยุดสั่น ป้องกันล้ม รู้ทันพาร์กินสัน


โรคพาร์กินสันจัดอยู่ในกลุ่มพยาธิสภาพที่เรียกว่า “ความผิดปกติของระบบการเคลื่อนไหว” (Movement Disorders) เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมองส่วนที่ผลิตสารโดพามีน

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคพาร์กินสัน ไม่ใช่แค่อาการสั่น

ในปัจจุบันนี้ผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปมีความตื่นตัวและสนใจเกี่ยวกับโรคพาร์กินสันกันมากขึ้น เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้มีบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคพาร์กินสันมีผลข้างเคียงไหม? รุนแรงไหม?


ผลข้างเคียงจากโรคพาร์กินสัน เกิดจากอาการการสั่น เช่น การล้ม ปัญหาในการพูด การเคี้ยว การกลืน การปัสสาวะ การอุจจาระ ในเพศสัมพันธ์ และเกิดจากปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้ออาการ

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคพาร์กินสันมีอาการอย่างไร? (Resting tremor)


ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคพาร์กินสัน คือ อาการแต่ละอาการจะค่อยๆปรากฏ เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแบ่งอาการออกได้เป็น

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)


โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคสันนิบาต หรือโรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่ควรรู้


โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ผิวหนังอย่างรวดเร็วกว่าปกติโดยการกระตุ้นของสารเคมีจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ชนิดเซลล์ที (T-cell) ทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นผื่นหนาขนาดใหญ่ มีลักษณะสีเงินและแดงที่ผิวหนังได้ทั่วร่างกาย โรคนี้สามารถเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ตอนที่ 3


โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ตอนที่ 3
โรคข้อรูมาตอยด์รุนแรงไหม?
การดำเนินโรคหรือความรุนแรงของโรคข้อรูมาตอยด์ค่อนข้างจะหลากหลาย ไม่แน่นอน แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน โดยส่วนใหญ่อาการปวดบวมของข้อจะเป็นๆหายๆ แต่การทำลายของข้อจากการอักเสบก็ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้มีการผิดรูปร่างของข้อและใช้งานไม่ได้มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยมีผู้ป่วยเฉลี่ย 50% ที่มีอาการมาแล้วประมาณ 10 ปีจะไม่สา มารถทำงานได้อีกต่อไป ในขณะที่ผู้ป่วยประมาณ 15% จะมีอาการปวดบวมจากการอักเสบของข้อเป็นอยู่ไม่นาน ไม่มีความพิการของข้อให้เห็น และสามารถทำงานได้เหมือนปกติ

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ตอนที่ 2

โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ตอนที่ 2
แพทย์วินิจฉัยโรคข้อรูมาตอยด์ได้อย่างไร?
-โดยทั่วไป เมื่อเริ่มเป็นโรคข้อรูมาตอยด์อาการมักไม่ค่อยชัดเจน ให้การวินิจฉัยโรคได้ยาก เวลาโดยเฉลี่ยนับตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคจนกระทั่งวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคข้อรูมาตอยด์อยู่ที่ประมาณ 9 เดือน การวินิจฉัยจะอาศัยอาการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรคนี้จากสหรัฐอเมริกา(American College of Rheumatology) ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยโรคไว้ดังนี้ โดยให้ถือว่า “ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างน้อย 4 ใน 7 ข้อเหล่านี้ เป็นโรคข้อรูมาตอยด์”

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคข้อรูมาตอยด์มีอาการอย่างไร?


โรคข้อรูมาตอยด์มีอาการอย่างไร?
-อาการของโรคข้อรูมาตอยด์ที่พบบ่อยคือ ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคครั้งแรกประมาณ 2 ใน 3 จะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมักจะวินิจฉัยได้หลังจากมีอาการหลายเดือนแล้ว โดยเริ่มต้นจะมีอา การอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร และตามมาด้วยอาการที่เกิดจากข้ออักเสบที่เป็นลักษณะ ของโรคข้อรูมาตอยด์ มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่จะเริ่มต้นด้วยอาการของข้ออักเสบเลย นอกจากนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตและม้ามโตร่วมด้วย

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) ตอนที่ 1


โรคข้อรูมาตอยด์มีสาเหตุจากอะไร?
-สาเหตุของโรคข้อรูมาตอยด์ยังไม่ทราบแน่ชัด จากการศึกษาพบว่าพันธุกรรมเป็นสาเหตุหนึ่ง โดยพบว่า 10% ของผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์มีญาติสายตรงที่เป็นโรคนี้เช่นกัน หรือในอีกแง่หนึ่ง ถ้ามีญาติสายตรงเป็นโรคนี้ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไปประมาณ 4 เท่า การศึกษาในผู้ป่วยที่มีแฝดไข่ใบเดียวกัน พบว่าถ้ามีแฝดคนหนึ่งเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ประมาณ 15 - 20% จะพบแฝดอีกคนเป็นโรคนี้เช่นกัน แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งที่แฝดไข่ใบเดียวกันมีรหัสพันธุกรรมที่เหมือนกัน แต่กลับไม่ได้เป็นโรคข้อรูมาตอยด์เหมือนกัน 100% จึงน่าจะมีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย
เนื่องจากโรคนี้พบได้ทั่วโลก จึงมีข้อสันนิษฐานว่าการติดเชื้อบางชนิดที่มีอยู่ทั่วไป อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคได้ เชื้อที่สันนิษฐานมีทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส แต่วิธีการก่อโรคของเชื้อที่ทำให้มีข้ออักเสบเรื้อรัง ปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้อธิบายได้
นอกจากนี้สาเหตุจากฮอร์โมนก็น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะโรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอาการของโรคจะดีขึ้นเมื่อตั้งครรภ์
ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม พยาธิสภาพที่ปรากฏคือ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินผิดปกติโดยเฉพาะที่ข้อต่างๆ เซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น และหลั่งสารเคมีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง และส่งผลทำให้เนื้อเยื่อปกติถูกทำลายในที่สุด

โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) 
-เป็นโรคเรื้อรังที่มีกลไกเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคของร่างกายทำลายอวัยวะของตัวเอง โดยทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ แต่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคและเป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการตามมาคือ การที่ข้อต่างๆเกิดการอักเสบโดยเฉพาะข้อมือและข้อนิ้วมือ โดยสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคและรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่มียาที่ช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงของโรคลงได้
โรคข้อรูมาตอยด์พบได้ทั่วโลก ทุกเผ่าพันธุ์ทั่วโลกในแต่ละปีมีอุบัติการณ์ประมาณ 3 รายต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งความชุกของโรคอยู่ที่ประมาณ 1% ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า ช่วงอายุที่เริ่มเป็นส่วนใหญ่ คือ 35 - 50 ปี

ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม พนาธิสภาพที่ปรากฏคือ ระบบภูมิค้มกันต้านโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินผิดปกติโดยเฉพาะที่ข้อต่างๆ เซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น และหลั่งสารเคมีต่างๆ ที่เกี่ยวข้างกับการอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบแบบเรื้อรัง และส่งผลทำให้เนื้อเยื่อปกติถูกทำลายในที่สุด


ขอบคุณ : http://haamor.com/th/โรคข้อรูมาตอยด์

อาหารเสริมช่วยให้อาการโรคข้อรูมาตอยด์ดีขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคกระดูกพรุนรุนแรงไหม?

โรคกระดูกพรุนรุนแรงไหม?
-โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิต (ตาย) แต่เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมากจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเมื่อกระดูกสะโพกหัก

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนคือ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนคือ

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)


โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
-โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และโรคกระดูกบาง (Osteopenia) คือ โรคเกิดจากมีมวลกระดูกลดต่ำลงจนเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุของกระดูกหักได้สูง เป็นโรคพบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง เป็นโรคของผู้ใหญ่โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้หญิงพบเกิดได้บ่อยกว่าผู้ชาย ปัจจุบันจัดเป็นอีกโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขรวมทั้งในประเทศไทยด้วย

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคไต ภาวะแทรกซ้อน โรคเบาหวาน


โรคเบาหวานกับโรคไต
- โรคเบาหวานจะทำให้หลาดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆตีบและเกิดโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคไต โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคเหล่านี้คือ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy


โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy
- โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อม หรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตราตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า


โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า
โรคเบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เท้าซึ่งมีสาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอเกิดแผลเนื่องจากขายเลือด ปลายประสาทอักเสบทำให้เกิดแผลกดทับ
การติดเชื่้อที่ผิวหนังก็ทำให้เกิดแผล นอกจากนั้นโรคแทรกซ้อนทางผิดวหนังเช่นผิวแห้ง เชื้อราเป็นสาเหตุให้เกิดแผลที่เท้าโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ
ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้าและเป็นสาเหตุให้ถูกตัดเท้า การป้องกันการถูกตัดเท้าจะต้องมีความรู้เรื่องเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดขา การตรวจเท้าเป็นประจำ
แผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเกิดจาก แผลที่เท้าจากปลายประสาทอักเสบ Diabetic neuropathy โครงสร้างของเท้าผิดปกติ และหลอดเลือดไปเลื้ยงที่เท้าตีบ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ถูกตัดเท้าส่วนใหญ่เกิดจากแผลที่เท้าเป็นตัวนำ หากวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มและให้การรักษาจะสามารถป้องกันการถูกตัดขาได้ 

การตรวจดูเท้าด้วยตัวเอง
- ญาติหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องหมั่นดูเท้าของผู้ป่วย เช่นดูสีผิว อุณหภูมิ ขน เล็บ การติดเชื้อ การผิดรูป ตาปลา ว่าสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง เมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์

การบริหารเท้า
- เนื่องจากโรคเบาหวานมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดเท้าตีบ และปลายประสาทอักเสบ การบริหารเท้าจำทำให้เลือดไปเลื้ยงเท้าเพิ่มขึ้นและ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดแผลจากโรคเบาหวาน

การดูแลสุขภาพเท้า
-  การดูแลสุขภาพเท้าจะต้องดูแลตั้งแต่เล็บ ผิวหนัง การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพโดยรวม

ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า
- ท่านที่มีปลายประสาทอักเสบ หลอดเลือที่เท้าตีบ เคยถูกตัดเท้า เคยติดเชื้อ หรือ เท้าผิดรูป ท่านจะมีความเสี่ยงในการถูกจัดเท้า

การเลือกรองเท้า
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะลดการเกิดแผลที่เท้า รองเท้าที่คับจะลดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้า และยังทำให้เกิดตาปลา รองเท้าที่อับจะทำให้เกิดพองได้ง่าย

การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล
- การประเมินความเสี่ยงของการถูกตัดเท้าออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ระดับสูง ปานกลาง และระดับต่ำ

ชนิดของแผลเบาหวาน
ชนิดของแผลเบาหวานแบ่งเป็นสามชนิดได้แก่แผลที่เกิดจากปลายประสาทอักเสบ แผลจากการขาดเลือดไปเลี้ยงและแผลจากโรคติดเชื้อการรักษาขึ้นกับสาเหตุของการเกิดแผล ซึ่งการรักษาแผลเบาหวาน
ที่เท้าจะต้องประเมินว่าแผลเกิดจากอะไร ความรุนแรงระดับไหน หลังจากนั้นให้การรักษา
จากข้อมูลทั้งหมดนี้คงทำให้ทุกคนตระหนักได้ว่า โรคเบาหวานนั้นนำมาซึ่งภาวะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ และการดูแลตนเองที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ตามสุภาษิตที่ว่า "การไม่มีโรค" เป็นลาภอันประเสริฐ



แนะนำอาหารเสริมเฮอร์บากร้าที่ช่วยปรับสมดุลของเบาหวาน Herbraga