วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รู้เท่าทัน “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด (Osteoporosis)


โรคกระดูกพรุนอาจเกิดจากการขาดแคลเซียม ดังนั้น เมื่อเราเรียนรู้จากในตำรามาตั้งแต่เป็นเด็กว่าแคลเซียมดีต่อกระดูก และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในยามที่แก่ตัวลง
เราจึงควรรู้ว่าต้องบริโภคแคลเซียมในปริมาณเท่าไร ร่างกายจึงจะนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด

-โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือภาวะที่ เกิดขึ้นเมื่อมวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะสร้างทดแทนได้ทัน จึงส่งผลให้กระดูกเกิดการเปราะและแตกหักได้ง่าย โดยผู้ป่วยกว่า 80% ไม่รู้ตัวว่าตนมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆ จนกว่าจะล้มแล้วกระดูกหัก จึงค่อยรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ดังนั้น โรคนี้จึงถือเป็นมฤตยูเงียบที่ส่งผลทำลายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก

-ทั้งนี้ พบว่าในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถเกิดอุบัติการณ์ของกระดูกหักในหลายๆ ตำแหน่ง เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ กระดูกเชิงกราน และกระดูกสะโพก ฯลฯ โดยจากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักมากถึงปีละประมาณ 500,000 ราย โดยพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 10 เท่า และโดยเฉพาะในผู้หญิงชาวอเมริกันผิวขาวที่มีอายุมากกว่า 70 ปี จะมีถึงครึ่งหนึ่งที่มีหรือเคยมีกระดูกสันหลังหักอย่างน้อยหนึ่งข้อนอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าตกใจแสดงให้เห็นว่า อัตราการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนของคนทั่วโลกนั้น เกิดขึ้นทุกๆ 3 วินาที ซึ่งค่ารักษาพยาบาลคิดเป็นเงินกว่า 120,000 บาท! และแม้อัตราการกระดูกหักเนื่องจากกระดูกพรุนจะเกิดขึ้นในคนวัย 50 ปีขึ้นไป โดยเกิดขึ้น 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชาย 

-แต่รู้หรือไม่ว่า วิธีการดำเนินชีวิตในทุกๆ วันตั้งแต่วัยเด็ก คือปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้การเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อคุณแก่ตัวลงได้อย่างดี

-อาหารการกิน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการปรับพฤติกรรมประจำวัน คือ วัคซีนป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด โดยต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กด้วยการกินอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมาก ได้แก่ ผักใบเขียว อย่างผักคะน้า บร็อกโคลี นมและผลิตภัณฑ์ของนม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาตัวเล็กๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ ฯลฯ 
การออกไปรับแสงแดดยามเช้าก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะร่างกายเราจะสังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดด วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักผ่านกระดูก เช่น การวิ่ง เต้นรำ เดินเร็ว ฯลฯ จะยิ่งช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้แข็งแรง

และสำหรับคนวัยทำงาน พบว่า ผู้ที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเกิดกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้ที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50% ดังนั้น ควรลุกขึ้นเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถให้ได้ทุกๆ ชั่วโมง 
แต่เอาเข้าจริงแล้ว นอกจากจะปรับพฤติกรรมระหว่างวันและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การจะเลือกกินอาหารให้ได้รับปริมาณแคลเซียมเพียงพอในแต่ละวัน คงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย นอกจากนี้การหลบแดดหรือการใช้ครีมกันแดดก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมเสริมที่มีวิตามินดี และแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับกระดูก เช่น แมกนีเซียม, มังกานีส, สังกะสี และทองแดง จึงเป็นตัวช่วยให้กระดูกแข็งแรงและเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



รู้เท่าทัน โรคกระดูกพรุน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น