วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

DBS Therapy ผังไมโครชิปกระตุ้นสมอง โรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน โรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองและระบบประสาท มาพร้อมกับวัยสูงอายุพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มโรคทางสมองของผู้สูงอายุ

น.พ.อภิชาติ พิศาลพงศ์ อายุรแพทย์สมอง ระบบประสาทเฉพาะทาง โรคพาร์กินสัน การเคลื่อนไหวผิดปกติศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายว่า โรคพาร์กินสัน เป็นเอดส์โรคที่เกิดจากการที่สมองเริ่มเสื่อมลง อาการที่พบบ่อยๆคือการสั่น กล้ามเนื้อเกร็งการเคลื่อนไหวช้า สูญเสียการทรงตัว พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง มัดพบในคนไข้ อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป มีน้อยที่ป่วยทั้งๆที่ยังอายุน้อย ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีผลจาก พันธุกรรม แล้วการตรวจค้นพบสาเหตุของโรคพาร์กินสัน เพื่อการรักษาที่ต้นเหตุไม่ใช่เรื่องยากปัจจุบันสามารถตรวจด้วยเครื่องสแกนสมองทั้งชนิด CT ,MRI และ PET Scan โดยเฉพาะ PET Brain F-DOPA เพื่อตรวจหาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างสารโดปามีน เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการที่เซลล์ของสมอง ผลิตสารโดปามีนไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการ สั่นที่มือ แขน ขา กรามและใบหน้า การตรวจสอบอย่างละเอียดจะช่วยให้ แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุด

เนื่องจากการ สั่นเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวไม่ดี กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดเสียงเบาในลำคอแล้วยังมีอาการบางอย่างที่เป็นตัวบ่งชี้ไปสู่โรคพาร์กินสันได้ เช่นท้องผูกปัสสาวะลำบาก กลั้นไม่อยู่ อวัยวะทางเพศไม่แข็งตัว ตาแดง ความดันต่ำ บางรายแค่ยืนก็ความดันลดลงทำให้เป็นลมได้ ซึ่งตรงนี้ต้องตรวจละเอียดอย่างมากๆ สำหรับการพัฒนาของโรคพาร์กินสันระยะแรก อาจเป็นครึ่งซีก อาการแรกอาจมาด้วยการสั่นกระดิ่ง เคลื่อนไหวลำบากครึ่งซีก ต่อมาจะเริ่มเป็น 2 ข้าง ซึ่งระยะการพัฒนาของโลกในช่วงนี้ อาจใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปี หลังจากนั้นก็จะเริ่มทรงตัวไม่ดี จนถึงขั้นต้องนั่งรถเข็น และสุดท้ายก็เริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จนต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา ซึ่งก็เป็นตามลำดับขั้นตอนการพัฒนาของโลกในระยะต่างๆ การรักษาโรคพาร์กินสันสามารถรักษาได้ทางการกินยาและผ่าตัด ซึ่งยารักษาพาร์กินสันมีหลายกลุ่ม ปัญหา การทานยาบางรายพอทานไปซักพักร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา บางคนกิน 4 5 ปี แล้วยาออกฤทธิ์ได้นานกว่าเดิม หรือบางคน คาดเดาใจไม่ได้ว่ายาจะออกฤทธิ์เมื่อไหร่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ผู้เชียวชาญจะมีการ แนะนําการใช้ยา บางคนแนะนำคนไข้ไม่ให้ทานยาพร้อมกับอาหารโปรตีน ที่เมื่อทานเข้าไปจะไปจับ ตัวยา หรือบางรายพอทานยาไปแล้วว่าการตอบสนองมีมากกว่าเดิมของคนไข้ที่มีอาการยุกยิกขอทานยาเข้าไปก็ตัวแข็ง พอของตกก็ไม่สามารถเก็บได้ ส่วนการผ่าตัด มักใช้เมื่อคนไข้กินยามาระยะหนึ่งแล้ว หรือทานยาแล้วมีผลข้างเคียง ก็จะใช้การผ่าตัดช่วย แต่มีข้อจำกัดอยู่บ้างโดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นทั้งอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน แม่จะไม่แนะนำให้ทำผ่าตัด เนื่องจากคนไข้มีอาการซึมเศร้า ประสาทหลอน การผ่าตัดจะไม่ได้ผลดีนัก อย่างไรก็ตาม อายุรแพทย์สมองและระบบประสาทโดยเฉพาะทางโรคพาร์กินสัน บอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ในการรักษาโรคพาร์กินสัน ที่เรียกว่า Deep Brain Stimulation : DBS Therapy เป็น การผ่าตัด ฝังไมโครชิพกระตุ้นสมองส่วนลึก ซึ่งได้รับ การรับรองจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ว่าช่วยบรรเทา อาการในผู้ป่วยพาร์กินสันได้มากกว่า 1 แสนรายทั่วโลก ในประเทศไทยมีการผ่าตัดฝั่งเครื่อง dbs รักษาผู้ป่วยพาร์กินสันไปแล้วหลายลายตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าช่วยให้ผู้ป่วยลดการใช้ยา ควบคุมการเคลื่อนไหว อาการของโรคดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีการผ่าตัดใส่ชุดอุปกรณ์การกระตุ้นประสาทส่วนลึก Medtronic DBS Therapy แทนการใช้ยารักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน เพื่อลดอาการสั่น และอาการข้างเคียงที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็นผลที่น่าพอใจ ด้วยการรักษาด้วยเทคนิคนี้ เป็นการฝัง อิเล็กโตรด เข้าไปในสมองและเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่เรียกว่า เครื่องกระตุ้น ไฟฟ้า ซึ่งสามารถตั้งค่าโปรแกรมทำงานได้จากภายนอก โดยแพทย์จะใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ Pacemaker เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย อุปกรณ์ทำนี้จะส่งสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าไปยังสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และป้องกันไม่ให้สมอง ส่งคำสั่ง บางอย่างที่เป็นสาเหตุของการเคลื่อนไหวผิดปกติ ทำให้สมองสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ดีมากขึ้น และสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดีกว่าเดิม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากการรักษาทางยาเพื่อระงับอาการของโรคแล้ว แพทย์ไทยได้เริ่มต้นการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิคผ่าสมอง ฝังเครื่องอิเล็กโตรด โดยใช้แบตเตอรี่กระตุ้นสมองด้วยความถี่สูง ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาในระดับต่างประเทศ ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีทั้งผู้ป่วยพาร์กินสันและโรคอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางสมอง โลกลมชัก โรคอัลไซเมอร์ รวมไปถึงโรคจิตเวช ย้ำคิดย้ำทำ โรคซึมเศร้า ภาวะคอกระตุก และกล้ามเนื้อบิดเกร็ง หลังจากรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลกรุงเทพ ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่รักษาโรคพาร์กินสันด้วยเทคนิคดังกล่าว ทำให้มั่นใจว่ารักษาด้วยเทคนิค dbs เป็นวิธีรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัย และเกิดผลแทรกซ้อนตามมาภายหลังน้อยมาก ปัจจุบันเทคนิคนี้ได้รับ ใช้การรักษาผู้ป่วยไปแล้วมากกว่าร้อยราย และเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่มาตรฐานในการรักษาไปอีกไม่น้อยกว่า 10 ปี


ขอบคุณ :  https://www.thairath.co.th/content/526134


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น