-แล้วแค่ไหนจึงจะเรียกว่าผิดปรกติ ใครเป็นผู้กำหนด: ในปัจจุบันหลายประเทศใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลที่ >126 มก./ดล. โดยมีข้อแม้ว่าเป็นค่าของน้ำตาลในน้ำเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชม. แล้ว แต่ถ้าบังเอิญท่านไม่ได้อดอาหารมาก่อน แต่ต้องการตรวจเลยโดยไม่อยากกลับมาใหม่ในวันรุ่งนี้ ท่านสามารถเจาะเลือดได้เลยโดยใช้ค่า 200มก./ดล.เป็นเกณฑ์
ใครเป็นผู้กำหนดตัวเลขนี้:
-คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐประชุม กันพิจารณางานวิจัยที่มีทั้งหมดก่อนปีค.ศ.1999เพื่อหาว่า โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นที่ระดับเท่าใด ผลพบโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเร็วที่สุดคือจอประสาทตาเสื่อม เกิดขึ้นที่ระดับน้ำตาลในเลือด 126 มก./ดล ดังนั้นความสำคัญของตัวเลขนี้ก็คือ ทุกคนควรจะเริ่มตระหนักว่า ถ้าเรามีระดับน้ำตาลสูงกว่า 126 เรามีโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวของเบาหวานแล้ว แม้ว่าที่น้ำตาลระดับนี้จะไม่ทำให้เราเกิดอาการใดๆ เลย ดังนั้นตัวเลขนี้จึงมีความหมายในการสร้างความตระหนักเพื่อให้เรามีมาตราการใดๆ ก็ตาม ที่จะทำให้ระดับน้ำตาลของเราต่ำลกว่า 126 แต่วิธีการจะทำให้ระดับน้ำตาลของเราต่ำลงนั้น จะเป็นวิธีที่ใดจะใช้วิธีกินยาหรือไม่ ถ้าใช้ยาจะใช้อย่างไร คงจะต้องมาพิจารณากันอีกที เพราะการควบคุมโรคเบาหวานนั้นมีหลายวิธี ในอนาคตเมื่อมีงานวิจัยใหม่ๆ หรือมีหลักฐานอื่นๆ มาลบล้างตัวเลข 126 นี้ลง เกณฑ์ของการวินิจฉัยเบาหวานก็อาจจะเปลี่ยนไปเพื่อให้ประชาชนมีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานน้อยที่สุด เพราะที่ให้ระดับน้ำตาลสูงกว่านี้รวมกับระยะเวลาที่ผ่านไป โรคแทรกซ้อนอื่นๆของเบาหวานเช่นหลอดเลือดแดงของหัวใจ หลอดเลือดแดงของสมอง โรคความดันโลหิตสูง ไตเสื่อมและไขมันสูงก็จะตามมาอีกชุดใหญ่ อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโรคยังคงใช้เกณฑ์ระดับน้ำตาลที่ 200 มก./ดล.
แล้วประเทศไทยใช้ตัวเลขใด:
-กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและสำนักงานประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชุมกันใช้ตัวเลขระดะบน้ำตาลที่ 126 มก./ดล. เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
แล้วทำไมร่างกายจึงใช้น้ำตาลไม่ได้:
-เราใช้น้ำตาลที่กินจากอาหารเพื่อทำให้เกิดพลังงาน น้ำตาลที่กล่าวถึงนี้คือกลูโคส ไม่ว่าเราจะอะไรเป็นอาหาร กินแป้ง กินเนื้อสัตว์ กินไขมัน ผลไม้ หรือผัก ในที่สุดมันจะต้องถูกย่อยให้เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดคือน้ำตาลกลูโคสก่อนเสมอ แล้วกลูโคสตัวนี้จึงเข้าสู่ขั้นตอนแรกของขบวนการที่ทำให้เกิดการเผาผลาญที่เรียกว่า glucolysis มีทั้งหมด 10 ขั้นตอนย่อย อนึ่ง ขบวนนี้ต้องเกิดขึ้นภายในเซล การนำกลูโคสเข้าเซล และและขั้นตอนที่ glucolysis ขั้นที่fructose 6 phosphate เปลี่ยนเป็น fructose 1,6 phosphate ขั้นตอนนั้นต้องใช้อินสุลิน
-นอกจากนี้ ขบวนการต่อไปคือสาร pyruvate เข้าสู่ kreb cycle เพื่อให้ได้พลังงาน ATPยังมีอีกเอ็นไซสำคัญ pyruvatedehydroginase kinase ที่ต้องใช้อินสุลินกระตุ้นอีกด้วย
-เมื่อกลูโคสในเลือดเข้าเซลก็ไม่ได้ ถ้าเข้าไปก็ไม่สามารถผ่านเข้าสู่ขบวนการ glucolysis กลายเป็น pyruvate ไม่ได้ แต่ถ้าแม้นบางส่วนจะสามารถผ่านเข้าไปเป็น pyruvate ได้ในกรณีเบาหวานชนิดที่ 2 อินสุลินมีอยู่แต่ออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เอนไซม์ที่ต้องใช้เปลี่ยน pyruvate เป็น acetyl CoA ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะต้องใช้อินสุลินในขั้นตอนนี้อีกเช่นกัน
แล้วทำไมร่างกายเราจึงขาดอินสุลิน: การขาดอินสุลินมีอยู่ 2 แบบหลักๆ
1. ร่ายกายขาดฮอร์โมนอินสุลินจริงๆ หมายถึงอินสุลินเท่ากับศูนย์ ไม่มีเลยทั้งนี้เพราะโรงงานที่ผลิตคือตับอ่อนผลิตอินสุลินไม่ได้ ส่วนจะผลิตไม่ได้เพราะอะไรยังสามารถแยกแยะต่อไปได้อีก
1.1 ถ้าผลิตไม่ได้เพราะเซลเบต้าที่ผลิตถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของตัวเอง องค์การอนามัยโลก(WHO classification) ให้เป็น เบาหวานชนิดที่ 1 เขียนสั้นๆ ว่า DM1
1.2 ถ้าผลิตไม่ได้เพราะเซลเบต้าถูกทำลายด้วยสาเหตุอื่นเช่น มะเร็ง เหล้า เบียร แอลกอฮอลล์แร่เหล็ก หรืออะไรอย่างอื่นไปตกตะกอนในตับอ่อน หรือตับอ่อนถูกตัดเช่นเกิดอุบัติเหตุ WHO ให้เป็นเบาหวานอื่นๆ (other DM)
2. ร่างกายไม่ได้ขาดอินสุลิน ตับอ่อนสามารถผลิตอินสุลินได้ดี หรืออาจจะผลิตได้มากกว่าปรกติด้วยซ้ำ แต่อินสุลินไม่สามารถนำน้ำตาลเข้าเซลได้ อย่างนี้พูดได้ว่ามีแต่ก็ใช้ไม่ได้ เสมือนหนึ่งว่าขาด กลไกแบบนี้ WHO จัดให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เขียนสั้นๆ ว่า DM2
มาดูภาพประกอบง่ายๆ จาก Diabetes.UK กัน ถ้าเซลรางกายของเราเปรียบเสมือนบ้าน และน้ำตาลกลูโคสเปรียบเสมือนคนที่ต้องการเข้าบ้าน และอินสุลินเปรียบเสมือนกุญแจ คนไม่สามารถเข้าบ้านไม่ได้อาจเกิดจาก
1.ไม่มีกุญแจ
2.มีกุญแจ แต่กุญแจไขไม่ออก
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ศึกษาลึกลงไปจนเห็นระดับเซล เขาพบว่าร่างกายมีประตูที่เป็นทางเข้าของน้ำตาลจริงๆ ด้วย เราเรียกประตูนั้นว่าว่า Insulin receptor ดังนั้นเมื่อกลไกการเกิดโรคเบาหวานเกิดได้หลายกลไก การรักษาจึงแตกต่างกันไปตามสาเหตุด้วย แต่อย่าลืมว่าธรรมชาติเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในบางคนหรือแม้แต่ในคนเดียวกันแต่ในช่วงเวลาต่างกัน ก็สามารถจะเกิดโรคเบาหวานได้จากกลไกที่มากกว่า 1 อย่าง
อาการของโรคเบาหวาน
-อาการของโรคเบาหวานที่พบบ่อย: ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมาก หิวมากกว่าปรกติ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย สมาธิไม่มี ชาปลายมือปลายเท้า ตามัว ป่วยบ่อย ติดเชื้อบ่อย คลื่นไส้ เวียนหัว หงุดหงิด ขบคิดปัญหาง่ายๆ ไม่ดี แผลหายช้า คันผิวหนัง คันช่องคลอด อาการที่พบบ่อยนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงกว่า 200 มก./ดล. ทั้งนี้เพราะไตสามารถเก็บกักกลูโคสได้มากทีี่สุดประมาณ 160-180 มก./ดล. ที่ระดับน้ำตาลสูงกว่านี้กลูโคสเป็นสารที่ดูดน้ำเอาไว้ จึงพาเอาน้ำและเกลือแร่อย่างอื่นเช่นโซเดียม ขับออกมาเป็นปัสสาวะจำนวนที่มากกว่าปรกติ ผู้ป่วยจะสังเกตได้ง่ายคือแม้ไม่รับประทานน้ำในขณะหลับ ก็ยังต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ส่วนอาการผิวแห้ง คัน กระหายน้ำนั้นเป็นผลพวงของปัสสาวะที่มากนั่นเอง ส่วนอาการทางอารมณ์และสมอง เกิดจากความหนืดของเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสมองสามารถสังเกตได้ค่อนข้างไวนั่นเอง
ดังนั้นในคนที่ระดับดับน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์ 126 มก./ดล.จึงไม่มีอาการใดๆ ใและโดยบังเอิญในการตรวจร่างกายประจำปี
ขอบคุณ : http://www.dmthai.org/news_and_knowledge/88
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น